มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยการผลักดันให้มีระบบดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจและลดความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย จากข้อมูลสถานการณ์สุขภาพจิตของผู้ใช้งาน ระบบ Mental Health Check-in ในระยะที่ผ่านมาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
การดำเนินงานของ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
พิธีลงนามความร่วมมือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU “โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพุทธชินราช และ โรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก ในวันที่ 14 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ ห้องประชุม ท 209 อาคารทีปวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว โดยมีผู้บริหารและบุคลากรจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และ โรงพยาบาลคู่เครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลพุทธชินราช และ โรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก เพื่อเพิ่มความเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตแก่บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้แก่
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ : อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- นายแพทย์ไกรสุข เพชระบูรณิน : นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก
- นายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงศ์ : ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
- นายแพทย์ภาณุ คูวุฒยากร : ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก
- นายชูพงษ์ สังข์ผลิพันธ์ : ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 2
ข้อตกลงความร่วมมือ
- ส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตสุขภาพที่ 2
- สนับสนุนให้เกิดโรงพยาบาลคู่เครือข่ายหรือหน่วยงานที่มีศักยภาพในพื้นที่ในการดูแลช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฎ
- ร่วมกันพัฒนาระบบส่งต่อ ติดตามผู้ที่มีปัญหาความเครียดและมีปัญหาสุขภาพจิตให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือจนดีขึ้นผ่านการคัดกรองด้วยโปรแกรม Mental Health Check-in
- เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่
1. การเข้าร่วมประชุมร่วมกันกับหน่วยงานคู่เครือข่าย
การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง เขตสุขภาพจิตที่ 2 ปี งบประมาณ 2565 วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารใหม่ สำนักงานสาธารณสุข จ.พิษณุโลก
การประชุมผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลสุขภาพจิตนักศึกษา โครงการคู่เครือข่ายดูแลใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ เพื่อวางแผนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2566 วันที่ 12 ตุลาคม 2565 ผ่านการประชุมรูปแบบออนไลน์
การอบรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจในชุมชนหลังเผชิญเหตุภาวะวิกฤติ วันที่ 27 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
2. การขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยนำระบบ Mental Health Check In PSRU เป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาและบุคลากร โดยเผยแพร่ให้ทุกคนใช้ ระบบ Mental Health Check-in ของกรมสุขภาพจิต สำหรับตรวจวัดสุขภาพใจได้โดยระบบจะรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญ และเข้าถึงการส่งต่อดูแลนักจิตวิทยาของส่วนงานคู่เครือข่าย เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ได้แก่ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพุทธชินราช และโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาและบุคลากร โดย ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อการดูแลสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและบุคลากร โดยการพิจารณาจัดซื้อเครื่องไบโอฟีดแบ็ค (biofeedback) มาใช้ในการคัดกรองสภาวะสุขภาพจิตอีกด้วย
กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านสุขภาวะทางจิต
ในปี พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยปรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปี พ.ศ. 2565 – 2569 กลยุทธ์ 1.5 พัฒนานักศึกษาให้มีสุขภาวะแบบองค์รวมที่ดี โดยกำหนดเป้าหมายของแผนให้นักศึกษาผ่านเกณฑ์สุขภาวะทางจิต ร้อยละ 80 ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยจากการดำเนินงาน MOU กับกรมสุขภาพจิต
ศูนย์แนะแนวและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ศูนย์แนะแนวและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม นำระบบ MENTAL HEALTH CHECK IN ใช้เป็นเครื่องมือประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น เพื่อคัดกรองสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและบุคลากรผู้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตสามารถประเมินตนเองและเข้าถึงบริการขอรับคำปรึกษาได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์
กิจกรรมโครงการภายใต้ MOU
โครงการอบรมการดูแลสุขภาพจิต “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ในโอกาสวันสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 กรมสุขภาพจิต จัดโครงการอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพจิต “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ให้กับนักศึกษาและบุคลากร ในวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม ท.209 อาคารทีปวิชญ์ (ส่วนทะเลแก้ว) เวลา 08.30 – 12.00 น. โดย ผศ.ดร.พิทักษ์ อยู่มี รักษาราชการแทนอธิการบดี ให้เกียรติต้อนรับเครือข่ายด้านสุขภาพจิต ได้แก่ นายชูพงษ์ สังข์ผลิพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 และ นายแพทย์ภาณุ คูวุฒยากร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
กิจกรรม “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” เป็นการบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับ Stress (เครียด) Burnout (ภาวะหมดไฟ) Depression (ซึมเศร้า) และ Suicide (เสี่ยงฆ่าตัวตาย) การเสริมสร้างพลังใจวิธีการผ่อนคลายความเครียด รวมถึงการตรวจวัดความเครียดด้วยเครื่อง Biofeed black และให้คำปรึกษาสุขภาพจิต นักจิตวิทยาจาก ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 และ โรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก และ รพ.สต.พลายชุมพล
โครงการพัฒนาศักยภาพการให้คำปรึกษาและส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 กรมสุขภาพจิต ในพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจใน “โครงการพัฒนาศักยภาพการให้คำปรึกษาและส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจ” โดยการจัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม Meeting Hall ชั้น 4 อาคาร e-library มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว)
กิจกรรมที่ 1 วันพุธที่ 15 มีนาคม 2566 : โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (สำหรับนักศึกษา)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดย งานบริการนักศึกษาและศิษย์เก่า กองพัฒนานักศึกษา ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 กรมสุขภาพจิต จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาภายใต้ “โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การช่วยเหลือเพื่อน การให้คำปรึกษา สร้างแนวทางในการเข้าถึงและช่วยเหลือเพื่อน อย่างรวดเร็ว กว้างขวางและทันเหตุการณ์ ตลอดจนสร้างเครือข่ายแกนนำนักศึกษาให้ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือเพื่อนด้านการให้คำปรึกษาและพัฒนาสุขภาพจิต การสังเกต รับฟัง และสามารถให้คำปรึกษาเบื้องต้น และปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตสาธารณะช่วยเหลือซึ่งกันระหว่างเพื่อน และรุ่นพี่รุ่นน้องอันจะนำไปสู่การป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต และดูแลช่วยเหลือคนรอบข้าง สังคมภายนอก หรือผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “คู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม Meeting Hall ชั้น 4 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรพส.ส่วนทะเลแก้ว
กิจกรรมที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566 : โครงการพัฒนาทักษะอาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดย งานบริการนักศึกษาและศิษย์เก่า กองพัฒนานักศึกษา ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 กรมสุขภาพจิต จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ “โครงการพัฒนาทักษะอาจารย์ที่ปรึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลและให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่นักศึกษาควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนส่งเสริมให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ทราบถึงระบบการจัดบริการและสวัสดิการที่เกี่ยวข้องแก่นักศึกษา และสามารถแนะนำ ช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างถูกต้อง และเพิ่มขยายเครือข่ายอาจารย์จิตอาสาในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย อันจะนำไปสู่การป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต และดูแลช่วยเหลือคนรอบข้าง สังคมภายนอก หรือผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “คู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม Meeting Hall ชั้น 4 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรพส.ส่วนทะเลแก้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม
- ที่มาของโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ
- เกี่ยวกับระบบตรวจสุขภาพใจ MENTAL HEALTH CHECK IN
- ระบบ Mental Health Check In PSRU
- 14 พ.ย.65 : พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง MOU “โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ”
- 4 พ.ย.65 : โครงการอบรมการดูแลสุขภาพจิต “วัดใจ เติมพลัง สังคมมีสุข” ในโอกาสวันสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ 2565
- 15-16 มี.ค.65 โครงการพัฒนาศักยภาพการให้คำปรึกษาและส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจ
- การเข้าร่วมประชุมร่วมกันกับหน่วยงานคู่เครือข่าย