1.ยังไม่เคยกู้ยืม กยศ. กับมหาวิทยาลัยต้องทำอย่างไร ?
ตอบ 1. เตรียมเอกสาร >> http://sas.psru.ac.th/index.php/psruloan/psruloan-document/
2. หากเคยทำสัญญากับมหาวิทยาลัยแล้ว ทำกิจกรรมจิตอาสาไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง
หากไม่เคยทำสัญญากับมหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมจิตอาสา 7 ชั่วโมง
หนังสือรับรองการทำกิจกรรมจิตอาสา รายละเอียดการทำกิจกรรมจิตอาสา http://sas.psru.ac.th/index.php/psruloan/psruloan-volunteer/
3. Upload หลักฐานการทำกิจกรรมจิตอาสาได้ที่ >> https://studentloan.psru.ac.th/
4. ยื่นขอกู้ยืมในระบบ DSL >> https://wsa.dsl.studentloan.or.th/#/rms/rms-login หรือ Application กยศ. Connect
2. นักศึกษาใหม่ตรวจสอบรหัสนักศึกษาได้จากที่ไหน ?
ตอบ ตรวจสอบรหัสประจำตัวนักศึกษาได้ที่ https://reg.psru.ac.th
/สอบถามได้ที่กองบริการการศึกษา อาคารพิบูลวิชญ์ / โทร. 055-267050
3. Upload กิจกรรมจิตอาสาที่เว็บไซด์ไหน ?
ตอบ Upload หลักฐานการทำกิจกรรมจิตอาสาได้ที่ >> https://studentloan.psru.ac.th/
4.ดาวน์โหลดแบบฟอร์มจิตอาสาได้ที่ไหน ?
ตอบ หนังสือรับรองการทำกิจกรรมจิตอาสา
5. สำเนาบัตรประชาชนถ่ายเอกสารแค่ด้านหน้าใช่ไหม ?
ตอบ ใช้ด้านทั้ง 2 แบบ คือด้านหน้าอย่างเดียว หรือทั้งด้านหน้าและด้านหลังบัตร
ก็สามารถใช้ได้ (อย่าลืมรับรองสำเนาถูกต้อง)
6. ใครสามารถรับรองรายได้ครอบครัวได้บ้าง ?
ตอบ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ/ข้าราชการ สามารถเซ็นต์ได้
(อย่าลืมขอสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ)
7. กรณีบิดามีรายได้ประจำ มารดาไม่ได้มีรายได้ประจำ ต้องเตรียมหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวอย่างไร ?
ตอบ กรณีบิดามีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองเงินเดือนที่ออกจากต้นสังกัด
ตัวอย่างหนังสือรับรองเงินเดือน
กรณีมารดา ไม่มีรายได้ประจำให้ใช้ หนังสือรับรองรายได้ครอบครัว กยศ. 102
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการเป็นผู้รับรอง (กรอกข้อมูลเฉพาะของมารดา ส่วนของบิดาไม่ต้องเนื่องจากของบิดาใช้หนังสือรับรองเงินเดือนที่ขอจากต้นสังกัดแล้ว)
8. กรณีรายได้ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานบริษัท ที่มีทำล่วงเวลาทำให้ไม่สามารถคำนวณรายได้รายปีได้เนื่องจากรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือนไม่เท่ากันต้องทำอย่างไร ?
ตอบ กรณีนี้ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ขอหนังสือรับรองเงินเดือนจากต้นสังกัด ตามตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างหนังสือรับรองเงินเดือน
9. หนังสือยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลต้องใช้ของใครบ้าง ?
ตอบ กรอกข้อมูลของบุคคลใดแนบเอกสารของบุคคลนั้นลงในระบบ DSL เช่น กรอกข้อมูล บิดา มารดา ผู้ปกครอง (ที่มิใช่บิดา-มารดา) ผู้กู้ยืม ก็ใช้หนังสือยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลของ
บิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ปกครอง (ที่มิใช่บิดา-มารดา) และผู้กู้ยืม
10. นักศึกษาใหม่รหัส 66 เรียนหลักสูตร 2 ปี(เทียบโอน) ต้องกรอกชั้นปีอะไร ?
ตอบ กรอกชั้นปีที่ 1 (นับชั้นปีตามรหัสนักศึกษาแรกเข้า)
11. scan เอกสารเป็นสีหรือขาวดำ ?
ตอบ scan เอกสารเป็นภาพสี/ขาวดำ ก็ได้
12. การโอนค่าครองชีพ ?
ตอบ กองทุนทุนจะโอนเงินค่าครองชีพ เดือนแรก ให้กับผู้กู้ยืมเงินภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานศึกษายืนยันการลงนามแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมในระบบ DSL
13. ค่าเทอมที่สำรองจ่ายไปจะได้คืนเมื่อไร ?
ตอบ ให้ตรวจสอบข้อความแจ้งเตือนในแอพกยศ. Connect / ระบบ DSL ว่ามีข้อความแจ้งเตือนเงินค่าเทอมโอนเข้ามหาวิทยาลัยไหม ถ้ามีโดยปกติกองคลังจะดำเนินการตรวจสอบและคืนเงินประมาณ 1 เดือนนับจากวันที่เงินโอนเข้ามหาวิทยาลัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองคลัง อาคารทีปวิชญ์ หรือ สอบถามได้ที่เบอร์โทร. 055-267000 ต่อ 9120
14. เงินค่าครองชีพไม่เข้า/เข้าไม่พร้อมเพื่อน ?
ตอบ ต้องขออภัยเนื่องจาก มหาวิทยาลัยจะไม่ทราบวันที่โอนเงินและลำดับการตรวจเอกสารก่อน-หลังของธนาคารค่ะ ขึ้นอยู่กับธนาคารตรวจเอกสารค่ะโดยปกติธนาคารจะทบให้สามารถโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับธนาคารกรุงไทยฯ สอบถามได้ที่เบอร์โทร. 02-2088607
15. ติดต่อ กยศ.มรพส.ได้ที่ไหน ?
ตอบ กยศ.มรพส.สามารถมาติดต่อได้ที่ห้องทุนการศึกษา ชั้น 1 อาคารกิจการนักศึกษา
กองพัฒนานักศึกษา / สอบถามได้ที่เบอร์โทร. 055-267000-2 ต่อ 9602 / 055-267079 / กยศ.มรพส.
16. กรณีระบบ DSL มีปัญหาติดต่อ กยศ. (สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร) ได้ที่ไหน ?
ตอบ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทร. 02-0164888 / กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
17. กรณีผู้ปกครองไม่ใช่สัญชาติไทยต้องยื่นขอกู้ในระบบ DSL อย่างไร ?
ตอบ สามารถดาวน์โหลด ได้ที่ >> ขั้นตอนการยื่นคำขอกู้ยืมเงิน ระบุข้อมูลผู้ปกครองที่มีสัญชาติไทย/ไม่สัญชาติไทย สำหรับผู้กู้ยืมเงิน
18. กรณีที่มีการโอนรายวิชาเรียบร้อยแล้ว พบว่าโอนรายวิชาไม่ถูกต้องต้องดำเนินการอย่างไร?
ตอบ นักศึกษาสามารถตรวจสอบรายวิชา ที่เว็บไซต์ www.reg.psru.ac.th
หากตรวจสอบแล้วพบว่ารายวิชาไม่ถูกต้อง ให้นักศึกษาติดต่องานทะเบียนกองบริการการศึกษา ณ อาคารพิบูลวิชญ์ /สอบถามได้ที่เบอร์โทร. 055-267050
18. ติดต่อขอรับใบเสร็จรับเงินได้ที่ไหน?
ตอบ นักศึกษา กยศ.สามารถตรวจสอบข้อมูลใบเสร็จรับเงินได้ที่ กยศ.มรพส. และติดต่อขอรับใบเสร็จรับเงินได้ที่ กองคลัง อาคารทีปวิชญ์ / สอบถามได้ที่เบอร์โทร. 055267000-2 ต่อ 9120
19. ผู้กู้ยืมกำลังศึกษาอยู่ แต่ได้รับจดหมายแจ้งให้ชำระหนี้ต้องทำอย่างไร ?
ตอบ การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยสถานศึกษา
สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี หรือจบการศึกษา สถานศึกษาต้องรายงานสถานภาพ ตามจริง โดยระบบจะมีให้สถานศึกษารายงาน เช่น ศึกษาต่อในสถานศึกษานั้นๆ ผู้กู้ยืมรายเก่าเลื่อนชั้นปีที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินในสถานศึกษาปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา ลาออก ให้ออก
การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้
สำหรับผู้กู้ที่ต้องรายงานจะเกิดจาก กรณีดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี เช่น ย้ายสถานศึกษา หรือ ไม่กู้ยืมเงินต่อ
กรณีที่2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน
ดังนั้น เพื่อรักษาสถานภาพการศึกษา ว่า “กำลังศึกษาอยู่” ระบบDSLจะแจ้งเตือน ให้ผู้กู้มารายงานสถานภาพ เมื่อพบว่าไม่มีการรายงานสถานภาพมาแล้ว 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานสถานภาพครั้งล่าสุด โดยจะแจ้งเตือนผ่าน Email และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานภาพ โดยระบบจะมีให้ดาวน์โหลด กยศ.204 เพื่อรายงานและลงนามรับรองโดยสถานศึกษาปัจจุบัน และสแกนข้อมูลเข้ามาในระบบ หากยังไม่ถึงระยะเวลา365 วัน ฟังก์ชันการรายงานสถานภาพจะไม่ขึ้นค่ะ ดังนั้น ผู้กู้ยืมเงินยังไม่ต้องดำเนินการใดๆเพราะรายงานสถานภาพจะไม่มีปุ่มแจ้งเตือน ให้คลิก
ปล. ปัจจุบันระบบเป็นแบบนี้ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการหารือให้สามารถรายงานได้ก่อนระยะเวลาเตือน 365 วัน
20. หลักเกณฑ์การชำระหนี้ ?
ตอบ
- ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืน ให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
- ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้
- การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
- หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
- ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
หมายเหตุ
(ก)ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
(ข)กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กู้ไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
21. ช่องทางการชำระหนี้ ?
ตอบ รายละเอียดช่องทางการชำระหนี้ :
https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1548321901
22. ในกรณีที่ผู้กู้ยืมต้องการขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนฯจะมีวิธีการอย่างไร ?
ตอบ การขอผ่อนผันการชำระหนี้สามารถทำได้แต่จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ทางกองทุนฯ กำหนด รายละเอียดการผ่อนผันการชำระหนี้ :
https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1548649297
23. กรณีผู้กู้ยืมเป็นผู้ป่วยติดเตียง ทำงานไม่ได้จนค้างชำระหนี้และถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
ได้รับยกเว้นการผ่อนชำระหนี้ กยศ.หรือไม่ อย่างไร ?
ตอบ กองทุนจะระงับการเรียกให้ชำระหนี้ กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินพิการหรือทุพพลภาพ จนไม่สามารถประกอบการงานได้ โดยผู้กู้ยืมต้องแจ้งเรื่องขอระงับการเรียกให้ชำระหนี้ให้กองทุนพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ผู้กู้ยืมต้องไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นผู้พิการหรือไม่ ถ้าได้รับมาแล้วให้นำใบรับรองแพทย์ไปทำบัตรคนพิการ หากอยู่ต่างจังหวัดให้ไปที่สำนักงานพัฒนาสังคมประจำจังหวัดที่ผู้กู้ยืมอยู่ ยื่นแบบฟอร์มหนังสือรับรองความสามารถการประกอบการงานของผู้พิการหรือทุพพลภาพ (กยศ.207) พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ หนังสือรับรองแพทย์ที่เป็นปัจจุบัน โดยโรงพยาบาลระบุอาการความพิการโดยละเอียด
24. ในกรณีที่ผู้กู้ยืมทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้จะต้องดำเนินการอย่างไร ?
ตอบ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้จะต้องแจ้งเรื่องขอระงับการเรียกให้ชำระหนี้ที่ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยผู้กู้ยืมต้องแนบหลักฐาน ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการที่ไม่หมดอายุ
- ใบรับรองแพทย์ที่เป็นปัจจุบัน โดยให้แพทย์บรรยายรายละเอียดของความพิการที่เป็นอยู่
โดยโรงพยาบาล และไม่เกิน 90 วัน (ใช้ฉบับ จริง) - สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืม
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ค้ำประกันทุกคน
- สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน กยศ./กรอ. (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองความสามารถประกอบการงานของผู้พิการ พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่รับรองความสามารถฯ โดยกองทุนฯ จะได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์
เพื่อทำการระงับการเรียกให้ชำระหนี้ต่อไป
25. ในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิต จะต้องดำเนินการอย่างไร ?
ตอบ กรณีที่ผู้กู้ยืมถึงแก่ความตายให้สัญญากู้ยืมเงิน หน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่ผู้กู้ยืมเงินมีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป โดยให้ญาติแจ้งธนาคารกรุงไทย/ธนาคารอิสลามฯ ทราบ โดยยื่นเอกสารหลักฐานเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ดังนี้
– สำเนาใบมรณบัตรของผู้กู้ยืมเงิน
– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมเงิน
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืม (ถ้ามี)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1548649527
26. ในกรณีที่ต้องการชำระเงินคืนกองทุนฯ สามารถชำระเป็นแบบรายเดือนได้หรือไม่ ?
ตอบ สามารถทำได้ โดยแบ่งชำระให้แล้วสร็จก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ประจำปี ที่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย / ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ทุกสาขา ซึ่งยอดที่แบ่งชำระรวมแล้วเงินต้นจะต้องไม่น้อยกว่ายอดที่กำหนดให้ในแต่ละปี
27. ผู้กู้ยืมไม่ได้กู้ยืมแล้ว แต่ยังศึกษาอยู่ จะต้องชำระหนี้ด้วยหรือไม่ ?
ตอบ ผู้กู้ยืมที่หยุดกู้ยืม แต่ยังคงศึกษาอยู่ จะต้องแจ้งสถานภาพการเป็นนักศึกษา ให้กองทุนทราบทุกปีจนกว่าจะจบการศึกษา ซึ่งหากไม่รายงานสถานภาพการศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะถือว่าผู้กู้ยืมเงินได้สำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษาแล้ว และจะต้องเริ่มต้นชำระหนี้งวดแรกนับแต่วันที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่กองทุนกำหนด
แบบฟอร์ม กยศ. 204 แบบรายงานสถานภาพการศึกษา
28. ในกรณีที่ต้องการชำระเงินตามยอดหนี้ ณ ปัจจุบันจะสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้อย่างไรบ้าง ?
ตอบ ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ 2 วิธี คือ
1. ผ่านช่องทาง Mobile Application “กยศ. Connect”
2. ผ่านทางเว็บไซต์ : https://wsa.dsl.studentloan.or.th
ช่องทางการชำระหนี้ : https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1548321901
29.ชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว ทำไมมีดอกเบี้ยค้างชำระ ?
ตอบ จำนวนเงินดอกเบี้ยที่ปรากฏตามตาราง ได้คำนวณยอดไว้เป็นรายปี โดยนับจากวันที่ 5 ก.ค เป็นหลัก ดังนั้น หากการชำระหนี้ ที่ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ 5 ก.ค หรือชำระหนี้หลังวันที่ 5 ก.ค. ของแต่ละปี ยอดดอกเบี้ยที่ต้องชำระจริงจะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนวันที่มาชำระหนี้
ซึ่งมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้
วิธีคำนวณดอกเบี้ย ยอดหนี้คงเหลือ X 1% (อัตราดอกเบี้ย) หาร 365 วัน **เท่ากับอัตราดอกเบี้ยจะเดินเป็นรายวันจนกว่าเงินต้นจะหมด
หมายเหตุ การชำระหนี้ก่อนกำหนดจะไม่สามารถยึดการผ่อนจ่ายตามตารางได้ เนื่องจากในการคำนวณหนี้ในตารางได้กำหนดวันจ่ายที่ 5 ก.ค ของทุกปี และได้มีการคิดนวณดอกเบี้ยเรียบร้อยแล้วทุกปี กรณีที่ผู้กู้จ่ายก่อนจะทำให้มีดอกเบี้ยที่เกินขึ้นน้อยกว่าในตาราง ให้ผู้จ่ายยอดตามหน้าระบบแทน
30.กองทุนจะมีหนังสือแจ้งวันครบกำหนดชำระหนี้ให้ทราบหรือไม่ ?
ตอบ กองทุนจะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ ส่งไปถึงผู้กู้ยืม 1 ครั้ง ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก โดยจะส่งไปยังที่อยู่เดิมตามภูมิลำเนาของผู้กู้ยืม หรือตามที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์
31.ในกรณีที่มีการชำระเงินคืนมากกว่าจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายจริงในงวดนั้นๆ สามารถทำได้หรือไม่ ?
ตอบ สามารถทำได้ โดยจำนวนเงินที่เกินยอดหนี้ที่ต้องชำระในแต่ละงวด ระบบจะนำไปลดยอดเงินต้น แต่ไม่ได้นำไปลดยอดเงินที่ต้องชำระในงวดต่อไป กล่าวคือ ผู้กู้ยืมยังคงมีหน้าที่ต้องชำระเงินในงวดต่อไปเต็มตามจำนวนที่กำหนดในตารางผ่อนชำระหนี้ แต่เงินจำนวนดังกล่าวจะถูกนำไปลดยอดเงินต้นในงวดสุดท้ายที่ผู้กู้ยืมจะต้องชำระ
32.จะทราบได้อย่างไรว่าครบกำหนดชำระหนี้เมื่อไร?
ตอบ วิธีการนับระยะเวลาปลอดหนี้หลังจบการศึกษาหรือเลิกการศึกษา ตัวอย่างเช่น ผู้กู้ยืมเรียนปีสุดท้ายปีการศึกษา 2563
ซึ่งจบการศึกษาช่วงกลางปี พ.ศ. 2564 จะมีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ดังนั้น ผู้กู้ยืมจะครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกในปี 2566 (5 กรกฎาคม 2566)
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1547359206
33. ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ตอบ ติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้ที่ >> ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา