การเตรียมเอกสาร กยศ.

สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ หรือ ผู้กู้ยืมรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา/ย้ายสถานศึกษา/
เปลี่ยนหลักสูตร/เปลี่ยนสาขาวิชา 


1. หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

– ผู้กู้ยืม ตัวอย่างการกรอกข้อมูลหนังสือยินยอมฯ สำหรับผู้กู้

– ผู้แทนโดยชอบธรรม / ผู้ปกครอง ตัวอย่างการกรอกข้อมูลหนังสือยินยอมฯ
สำหรับผู้แทนโดยชอบธรรม/ผู้ปกครอง


– คู่สมรส (ถ้ามี)  ตัวอย่างการกรอกข้อมูลหนังสือยินยอมฯ
สำหรับคู่สมรสของผู้กู้ยืมเงิน


2. เอกสารประกอบการรับรองรายได้ (ผู้ปกครอง)

– กรณีมีรายได้ประจำ เช่น การทำงานที่ได้รับเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน
(พนักงานของรัฐ / พนักงานโรงแรม พนักงานบริษัท ) โดยต้องแนบสลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือน ตัวอย่างหนังสือรับรองเงินเดือน กรณีมีรายได้ประจำ

– กรณีไม่มีรายได้ประจำ / ไม่มีรายได้  เช่น อาชีพค้าขาย อาชีพรับจ้าง เกษตรกร 
ใช้ แบบฟอร์ม กยศ.102 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ / ข้าราชการ

หมายเหตุ

– ผู้กู้ยืมต้องเตรียมเอกสารเพื่อทำการ Upload ในระบบ DSL ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์
เห็นรายละเอียดชัดเจนโดยสามารถใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเอกสารแทนการสแกนเอกสารได้
– ระบบรองรับไฟล์สกุล PDF / JPEG / GIF / TIFF / PNG ขนาดไม่เกิน 10 MB 
– ชื่อเจ้าของเอกสารต้องเป็นบุคคลเดียวกันกับที่จะบันทึกในระบบ
– สำเนาบัตรประจำตัวต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของเอกสาร 

หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล 

– ผู้กู้ยืมต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน และลงลายมือชื่อด้วยตนเองเท่านั้น

– ห้ามพิมพ์ชื่อ หรือให้บุคคลอื่นลงลายมือชื่อแทน

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– ตรวจสอบวันหมดอายุของบัตรประจำตัวประชาชน ต้องไม่หมดอายุ- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงินและบิดา มารดา/ผู้ปกครอง และ/หรือคู่สมรส (ถ้ามี) และเจ้าของบัตร
ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น
– สำเนาเอกสารต้องชัดเจน สมบูรณ์ อ่านออก ไม่เบลอ ไม่ดำ ฯลฯ
– ถ่ายภาพ/สแกนไฟล์สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเข้าสู่ระบบ
ถ่ายภาพ/สแกนไฟล์ให้ ชัดเจน และเป็น แนวตั้งเท่านั้น 

กรณีบิดา/มารดา มีสัญชาติไทย สามารถเลือกประเภทบัตร
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน (เช่น กลุ่มพระภิกษุ,นักบวช หรือผู้พิการ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือผู้ที่อยู่ในการคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย)

กรณีบิดา/มารดา ไม่ใช่สัญชาติไทย สามารถเลือกประเภทบัตร
1. หนังสือเดินทาง
2. บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตรสีขาว)
3. บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู)

ตัวอย่างการรับรองสำเนา


เอกสารประกอบการรับรองรายได้  (กรณีมีรายได้ประจำ) ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐาน
ที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ 

เอกสารประกอบการรับรองรายได้  (กรณีไม่มีรายได้ประจำ)

ใช้หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืม ตามแบบฟอร์ม กยศ.102 

– การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ

– สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการ
จากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น

ดาวน์โหลดเเบบฟอร์ม

กยศ. 102 หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้กู้ยืมเงิน (กยศ.)

ตัวอย่างการกรอกข้อมูลในหนังสือรับรองรายได้

ตัวอย่างหนังสือรับรองรายได้ กยศ. 102 ไม่มีรายได้ประจำ กรณีบิดามารดาอยู่ด้วยกัน
ตัวอย่างหนังสือรับรองรายได้ กยศ. 102 ไม่มีรายได้ประจำ กรณีบิดามารดา หย่าร้าง / แยกกันอยู่
ตัวอย่างหนังสือรับรองรายได้ กยศ.102 ไม่มีรายได้ประจำ กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต
ตัวอย่างหนังสือรับรองรายได้ กยศ. 102 ไม่มีรายได้ประจำ กรณีผู้กู้ยืมสมรสแล้ว
ตัวอย่างหนังสือรับรองรายได้ กยศ. 102 ไม่มีรายได้ประจำ กรณีอยู่กับผู้ปกครอง
(ที่มิใช่บิดา มารดา)