ทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

การก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เมื่อวันที่ 25 ต่อกับวันที่ 26 ตุลาคม 2504 ได้เกิดพายุโซนร้อน ชื่อ “แฮเรียต” พัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศไทย ยังความเสียหายให้เกิดแก่จังหวัดภาคใต้ถึง 12 จังหวัด ในคืนวันที่ 27 ตุลาคม 2505 เวลาประมาณ 19.00 น. นายปกรณ์ อังศุสิงห์ นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ได้รับโทรศัพท์จากคุณพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองมหาดเล็กว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นห่วงผู้ประสบภัย และทรงติดต่อขอเครื่องบินจากกองทัพอากาศไว้แล้ว ขอให้รีบเดินทางไปช่วยเหลือโดยด่วน ขณะนั้น กรมประชาสงเคราะห์ ได้เตรียมสิ่งของไว้พร้อมแล้ว จึงเดินทางไปในวันรุ่งขึ้น    คือ วันที่ 28 ตุลาคม 2505 นายปกรณ์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ พร้อมด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงมหาดไทย อาทิ หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และหลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ อธิบดีกรมโยธาเทศบาล ได้เดินทางไปพร้อมกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกา ได้มีกระแสรับสั่งให้ร่วมเดินทางไปกับกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อทำการสงเคราะห์ และบรรเทาทุกข์ในครั้งนี้ด้วย

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถานีวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประกาศโฆษณาเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์และสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทรงรับเงินและสิ่งของด้วยพระองค์เอง ประชาชนได้หลั่งไหลเข้าสู่สถานีวิทยุ อส. ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน มีผู้บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลถึง 11 ล้านบาทเศษ และสิ่งของประมาณห้าล้านบาท ส่วนผู้ที่ไม่สามารถบริจาคทรัพย์ และสิ่งของได้ก็บริจาคแรงงานช่วยขนสิ่งของ ที่น่าปลื้มใจก็คืองานนี้ทำโดยอาสาสมัคร ซึ่งส่วนมากเป็นนิสิต นักศึกษาลูกเสือและนักเรียน ได้ทำการจัดและขนส่งสิ่งของเหล่านั้นไปบรรเทาภัยแก่ประชาชน โดยมีนายเจริญ มโนพัฒนะ รองอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ รักษาการแทน อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเงินและ สิ่งของไปดำเนินการตามพระราชประสงค์ตลอดเวลา

นอกจากนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินให้กระทรวงศึกษาธิการสร้างโรงเรียนประชาบาลที่ถูกพายุพัดพัง รวม 12 โรงเรียน ใน 6 จังหวัดภาคใต้ และภายหลัง พระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1,2,3,4,5 ถึง 12” ตามลำดับ (โดยในปัจจุบันมีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั้งสิ้น 58 โรงเรียน ทั่วประเทศ)

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ในปัจจุบัน (ปีพ.ศ. 2561)

  1. เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
  2. เพื่อให้การสนับสนุนด้านการป้องกันสาธารณภัยทั่วประเทศ
  3. เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นส่วนรวมแก่ประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนประการอื่น ซึ่งคณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นสมควร และได้รับความเห็นชอบจากนายกมูลนิธิ
  4. เพื่อให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษา เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กกำพร้าหรือเด็กอนาถาที่ครอบครัวประสบสาธารณภัย ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์  และ ให้การสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์
  5. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์
  6. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

คุณสมบัติของผู้รับทุน

เป็นนักเรียนที่ศึกษาอย่างต่อเนื่องของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้ที่ครอบครัวประสบสาธารณภัยและมีผลการเรียนดี

เงินพระราชทาน

เป็นเงินค่าใช้จ่ายต่อเนื่องจากสถานศึกษาเดิม โดยในระดับอุดมศึกษานักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท  โดยแบ่งจ่าย 2 ภาคเรียน ๆ ละ 15,000 บาท ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ของนักศึกษาโดยตรง นักศึกษาสามารถเบิกเงินทุนการศึกษาเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี

  1. ค่าลงทะเบียนเรียน
  2. ค่าเครื่องแบบ ค่าเครื่องแต่งกาย
  3. ค่าเช่าที่พักอาศัยขณะศึกษา
  4. ค่าพาหนะ
  5. ค่าใช้จ่ายประจำวัน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการศึกษา

หน่วยประสานงาน

  • กลุ่มการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพิษณุโลก
  • ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • www.rajk.org

การติดตาม กำกับ ดูแลนักศึกษาระหว่างศึกษา

กองพัฒนานักศึกษา ดูแลเกี่ยวกับการติดตาม-รายงานผลการเรียน และบัญชีรายรับ-รายจ่าย  แต่ละภาคการศึกษา          

อาจารย์ที่ปรึกษา ดูแลเกี่ยวกับผลการเรียน และความประพฤติ โดยติดตามดูแลให้นักศึกษาปฏิบัติ ตามข้อบังคับและหลักเกณฑ์ของนักศึกษาทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ  โดยเคร่งครัด

รายนามผู้ได้รับทุนการศึกษา ปีการศึกษา 2566

ชื่อ-สกุล รหัสนักศึกษา สาขาวิชา คณะ
นางสาวรวี ลีชานนท์6612273014พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอางเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร
นางสาวปิยณัฐ ประสาทเขตรการ6512112014ภาษาไทยครุศาสตร์
นางสาวอรทัย มงคลคีรีโรจน์6512606059การตลาดวิทยาการจัดการ
นางสาวสุทินา ลีชานนท์6512111037พลศึกษาครุศาสตร์
นางสาวอรัญญา คำผิพา6512412072นิติศาสตร์สังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น
นางสาวธีร์วรา เอิ้อกูลกานต์6512105011การศึกษาพิเศษครุศาสตร์
นางสาวสุธีมน พรมที 6412427025 รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น
นางสาวพิยดา แซ่วื่อ6412120010สังคมศึกษาครุศาสตร์
นางสาวกฤติยากรณ์ สารมะโน6412120001สังคมศึกษา ครุศาสตร์
นางสาวยุวดี พนาปานแก้ว 6412105010การศึกษาพิเศษ ครุศาสตร์
นางสาวรุ่งนภา คงลาภนวลแข6412108018จิตวิทยาและการแนะแนว ครุศาสตร์
นางสาวทิพวรรณ เขียวสอาด6412239042วิศวกรรมโลจิสติกส์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
นางสาวฐิติรัตน์ ลีชานนท์6412416007ภาษาจีนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นางสาวกัญญารัตน์ ทรงชัยเจริญ6412416002ภาษาจีนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นางสาวกชมน แซ่เถา6412418048ภาษาไทยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นางสาวจิรัชญาวรรณ รัตนพันธ์6412614002นิเทศศาสตร์วิทยาการจัดการ
นางสาวปรียา ทรงคงดวงดี6312260009พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร
นางสาวธัญญารัตน์ คีรีกุลไพศาล6312801009การพยาบาลศาสตร์พยาบาลศาสตร์
นางสาวเอมอร เอี่ยมอิ่ม6312426023รัฐศาสตร์สังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น
น.ส.เจนจิรา แซ่หว้า6312230001ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รายละเอียดเพิ่มเติม
หน่วยทุนการศึกษา งานบริการนักศึกษาและศิษย์เก่า กองพัฒนานักศึกษา
โทรศัพท์ 055-267000-2 ต่อ 9622