ศิษย์เก่าเกียรติยศ

ศิษย์เก่าเกียรติยศ 90 ขุนพลพิบูลสงคราม
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว)

…นับจากวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2469 จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มุ่งผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง สมดังปณิธาน มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผลผลิตจากก้าวแรกจนถึงปัจจุบัน คือ “ศิษย์เก่า” ที่สำเร็จการศึกษาและประกอบสัมมาชีพตามศาสตร์วิชาต่างๆ อยู่ทั่วไป ในโอกาสครบรอบปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยครบ 90 ปี มหาวิทยาลัยจึงจัดโครงการศิษย์เก่าเกียรติยศ 90 ขุนพลพิบูลสงครามขึ้น เพื่อแสวงหาศิษย์เก่า ผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ ผลงานเด่นเป็นที่ยอมรับในการประกอบสัมมาอาชีพ และอุทิศตนแก่สังคม สะท้อนเอกลักษณ์ “มหาวิทยาลัยสร้างคนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” พัฒนาตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตามอัตลักษณ์ “บัณฑิตนักปฏิบัติ ซื่อสัตย์ อดทน พร้อมพัฒนาตน” และยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิษย์เก่าเกียรติยศ ในปี พ.ศ.2559 เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป …

  1. นางเพ็ญศรี พืชพันธุ์ ผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถจัดกระบวนการปฏิบัติงานในองค์กรได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อุทิศตนให้กับสังคม ได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ที่ปรึกษาและประสานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภากาชาดไทยจังหวัดนครสวรรค์ และ ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพิษณุโลก
  2. นายนริศร์ ศรีโพธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดเทศบาลในหลายจังหวัดภาคเหนือ เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ภายหลังจากเกษียณอายุราชการได้อุทิศตน เสียสละแรงกายแรงใจในการทำงานเพื่อสังคมตอบแทนท้องถิ่นของตนเอง อาทิ เป็นคณะกรรมการในการบริหารการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 41 ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทศาลจังหวัดกำแพงเพชร และอีก 9 จังหวัดภาคเหนือ
  3. นายสม เสงี่ยมโปร่ง ผู้มีความสามารถด้านพลศึกษา เป็นหัวหน้าภาควิชาพลศึกษา วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ยาวนานกว่า 22 ปี ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก และหัวหน้าแผนกธุรการ การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาตามลำดับ ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ ตอบแทนท้องถิ่นด้วยการดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่นถึง 2 สมัย ยกระดับความเป็นอยู่ให้แก่ประชาชน
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดำรง ประเสริฐกุล เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพครู ทำงานด้านบริหารมาโดยตลอด มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดีจึงได้รับการยอมรับและการประกาศเกียรติคุณอย่างกว้างขวาง ภายหลังเกษียณอายุราชการทำงานตอบแทนสังคมในด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม
  5. ดร.วิสิทธิ์ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา จำกัด ผู้ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ จากการเป็นหุ้นส่วนพัฒนาศึกษา อิมปอร์ต แล้วเปิดสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง พิมพ์หนังสือระดับมัธยมศึกษาจำหน่ายทั่วประเทศ ต่อมาขยายธุรกิจด้านการพิมพ์อย่างกว้างขวาง ในนาม บริษัท พ.ศ.พัฒนา กรุ๊ป และธุรกิจคอนโดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
    ศิษย์เก่ารุ่นวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
  6. ศาสตราจารย์ ดร.พศิน แตงจวง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านการศึกษา และการค้นคว้าวิจัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้อำนวยการร่วม NIDA-UTC ควบคู่กันไป ผลงานทางวิชาการเผยแพร่ในเวทีวิชาการในต่างประเทศจำนวนมาก ภายหลังเกษียณอายุราชการ ยังอุทิศตนให้กับการศึกษาอยู่เสมอ
  7. นายวิเชียร ด่านพิกุลทอง มีความรู้ความสามารถในด้านการบริหาร เริ่มจากการเป็นครูและพัฒนาศักยภาพของตนเองก้าวหน้าตามลำดับ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ชั้นพิเศษ ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวังทอง อุทิศตนในการทำงานเพื่อสังคมและท้องถิ่น เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิประจำหมู่บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ภายหลังเกษียณอายุราชการ
  8. รองศาสตราจารย์ ดร.วิรัช วรรณรัตน์ มีความเชี่ยวชาญในด้านการวัดผลประเมินผล การประกันคุณภาพการศึกษา พัฒนาศักยภาพของตนเองให้ก้าวหน้ามาโดยตลอด ดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ มากมาย อาทิ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ภายหลังเกษียณอายุราชการ เป็นอาจารย์อาวุโสของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ พร้อมกับดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีอาวุโสควบคู่กันไป
  9. นายบรรจง พงษ์ประเสริฐ มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบางไผ่ราษฎร์สงเคราะห์ และโรงเรียนอื่นๆ ในเขตจังหวัดพิจิตร หลายโรงเรียน และเป็นผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตรเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปี อุทิศตนให้กับสถานศึกษาและสหกรณ์ จนกระทั่งได้รับรางวัลในการบริหารจัดการดีเยี่ยมหลายรางวัล ภายหลังเกษียณอายุราชการ ได้รับเชิญเป็นผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิจิตร จำกัด
  10. ดร.เสกสรรค์ ทองศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษาด้วยวิสัยทัศน์แห่งความเป็นผู้นำ พัฒนาศักยภาพของตนเองจากครูผู้ปฏิบัติหน้าที่สอนมาเป็นผู้บริหารสถานศึกษา พัฒนาระบบการศึกษาของโรงเรียนพิณพลราษฎร์สงเคราะห์ 12 มีมาตรฐานเทียบเท่ากับสถานศึกษาอื่น เป็นเวลา 17 ปี สร้างผลงานต่างๆ จนได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม
  11. นายสุพรรณ สอนจันทร์ ผู้มีความรู้ความสามารถด้านงานส่งเสริมพลานามัยและกิจการพิเศษ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและสถานศึกษาให้มีระบบระเบียบและมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่มากมาย ภายหลังเกษียณอายุราชการ ยังคงสนับสนุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยเป็นวิทยากรอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ และ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการชมรมลูกเสือชาวบ้าน 17 จังหวัดภาคเหนือ
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เตือนใจ เกียวซี ผู้มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ ในอดีตเคยดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เสียสละอุทิศตนเพื่อส่วนรวมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ภายหลังเกษียณอายุราชการได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมีเป็นวิทยากรอบรมให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับเด็กผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในโอกาสสำคัญต่างๆ
  13. อาจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ ขันยศ ผู้มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานภายในและภายนอก มีส่วนในการยกระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษแก่บุคลากรทางการศึกษา และพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างดี เสียสละเวลาเพื่ออบรมภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยแบบให้เปล่าเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน
  14. นายวรินทร์ ชำนาญผา ผู้มีความชำนาญในด้านการบริหารระบบการศึกษา เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 ช่วยเหลืองานสังคมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างมากมาย เป็นคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของโรงเรียนในสังกัด ตอบแทนคุณแผ่นดินด้วยการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
  15. นางบัวแก้ว ศรีภูธร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ มีผลงานทางด้านโครงงานวิทยาศาสตร์มากมาย ได้รับรางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับประเทศ มากมาย ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยใช้วิธีการสอนเชิงวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งผู้เรียนได้รับรางวัลในระดับต่างๆ จึงได้รับการยกย่องให้เป็นครูดีที่หนูรัก
  16. นางนุชจรีย์ สิทธิวงศ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านหนองหมื่นชัย จังหวัดสุโขทัย มีความเชี่ยวชาญงานด้านธุรการและพัฒนาศักยภาพของตนเองเป็นครูผู้สอน สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารให้ดูแลงานด้านหลักสูตรของสถานศึกษาในระดับชั้นปฐมวัย และเป็นหัวหน้าโครงการส่งเสริมการศึกษาให้นักเรียนหลายโครงการ ปัจจุบันได้เลื่อนวิทยฐานะของตนเองเป็นครูผู้มีความชำนาญการด้านการสอนนักเรียนระดับชั้นประถมวัย
  17. นายสำอางค์ บุญเกิด ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบอำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร สามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา และพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ ตลอดระยะเวลาที่รับราชการ ให้ความสำคัญกับการวางแผน การบริหารเวลา ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง หน่วยงาน และผู้เรียน
  18. นายประพันธ์ ระลึกมูล ประธานเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุเทศบาลนครพิษณุโลก ผู้มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำองค์กร ได้รับความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจนเกษียณอายุราชการ ปัจจุบันใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทำงานรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่อง ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้นำและผู้บริหารในหลายลักษณะงาน หลายสังกัด เป็นผู้ก่อตั้งชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดพิษณุโลก และดำรงตำแหน่งประธานชุมชนมหาจักรพรรดิยาวนานกว่า 10 ปี
  19. นายบุญส่ง บูลย์ประมุข นายกเทศมนตรีตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเป็นอย่างดี พัฒนาศักยภาพของตนเองจากครูผู้สอนหนังสือมาเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อุทิศตนทำงานด้านการส่งเสริมการศึกษา สนับสนุนการแพทย์ฉุกเฉิน ผลักดันอนามัยแม่และเด็กให้เป็น “ตำบลนมแม่” อย่างเต็มตัว อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และสนับสนุนกิจกรรมผู้สูงอายุในชุมชน
  20. ดร.วีรบูล เสมาทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก่งจูงนาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ พัฒนาตนเองจากครูผู้สอนมาเป็นผู้บริหาร เจริญก้าวหน้าตามลำดับ และพัฒนาระบบการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆ หลายโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก ได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนในการบริหารองค์กร ระดับภาคหลายองค์กร ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ารับการอบรมในหลักสูตรการบริหารจัดการองค์กรในต่างประเทศหลายปีติดต่อกัน
  21. ดร.สมภพ นาคสีดี ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิษณุโลก จำกัด ผู้มีความมุมานะอุตสาหะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เจริญก้าวหน้าจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทั่วไป จนกระทั่งได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดขององค์กร ยาวนานกว่า 14 ปี นอกเหนือจากการทำงานในหน้าที่แล้ว ยังอุทิศตนช่วยเหลือระบบการศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันอีกด้วย
  22. นายสุรชัย พงษ์เจริญ ผู้จัดการโรงเรียนสิ่นหมิน จังหวัดพิษณุโลก ข้าราชการครูผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับ ภายหลังเกษียณอายุราชการ อุทิศตนรับใช้สังคมด้วยการบริหารท้องถิ่นของตนเองโดยเป็นผู้พิพากษาศาลสมทบ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาตำรวจในการให้บริการประชาชน ได้รับการยกย่องเป็นคนดีศรีสองแคว และสร้างชื่อเสียงในสังคมอีกมากมาย เป็นที่ยอมรับ
  23. นายกิตติพงศ์ พิพัฒน์ศิวพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหาร ได้รับการยอมรับให้เป็นนักบริหารที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาองค์กรทางด้านการศึกษาและระบบการศึกษาให้มีมาตรฐาน อุทิศกำลังกายกำลังใจ เสียสละและมีความรับผิดชอบ ในการบริหารการศึกษามาโดยตลอด สามารถนำพัฒนาองค์กรให้ได้รับรางวัลในระดับจังหวัดมากมาย ได้รับการยกย่องให้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น
  24. นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เชี่ยวชาญด้านการเกษตร มุ่งมั่นทุ่มเทแรงกายแรงใจเสียสละเพื่อความอยู่ดีกินดีของเกษตรกร ลงพื้นแก้ไขปัญหาด้วยตนเองด้วยความบากบั่น ดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำสูงสุดในบริหารจัดการระบบเกษตรกรรมของประเทศ มีผลงานและเกียรติคุณจำนวนมาก และได้รับการยกย่องให้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นระดับประเทศ
  25. ดร.พรรณศิริ กุลนาถศิริ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เมื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สามารถปฏิบัติภารกิจของกระทรวงให้บรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ด้วยดี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ช่วยเหลือสังคมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ได้รับการยกย่องจากสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ให้เป็นสตรีไทยดีเด่นตัวอย่าง เป็นนักบริหารยอดเยี่ยมแห่งปี และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
  26. นางอุไรวรรณ โพธิ์นาค ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาเชิงคีรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารระบบการศึกษา ได้รับการยอมรับจากองค์กรต่างๆ ให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการยกย่องเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นจังหวัดสุโขทัย และ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
  27. นายสัมฤทธิ์ ทองรัตน์ ผู้บริหารผู้ได้รับการยอมรับในวงการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุ่มเทเอาใจใส่พัฒนาโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเป็นที่ยอมรับ จนได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนขนาดใหญ่ ในปี 2555 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น สมาชิกคุรุสภาผู้มีผลงานดีเด่น และ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
  28. ดร.ถวิล น้อยเขียว ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านบริหารศึกษา รับราชการครู 37 ปี พัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานจนได้รับการยอมรับอย่างกว้าง ภายหลังจากเกษียณอายุราชการ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย อาทิ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู สำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการสภาลูกเสือไทย เป็นที่ยอมรับ
  29. ดร.พิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จในกิจกรรมระดับชาติหลายครั้ง เช่น โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง, การจัดตั้ง “กองทุนครูของแผ่นดิน” กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหลายสถาบัน อาทิ เป็นนายกสมาคมนักบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
  30. รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เนียมนาค คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร พัฒนาตนเองมีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ เป็นที่ยอมรับด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ อาจารย์มีเสรีภาพทางวิชาการ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  31. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกล เกิดผล อาจารย์สาขาภาษาอังกฤษ ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร เช่น คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสหการ ผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับรางวัล Best Practice Award จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยายร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในปี 2557 ณ ประเทศเมียนมาร์ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
  32. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริวิมล  ใจงาม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้ริเริ่มและพัฒนางานด้านการศึกษาพิเศษ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ให้มีก้าวหน้าอย่างเป็นระบบจนได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ ศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นสถาบันนำร่องด้านการให้บริการนักศึกษาพิการ จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากวงการศึกษาพิเศษของประเทศไทย เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
  33. นายพงษ์ชัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นอันดับที่ 1 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นที่ยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากหน่วยงานต่างๆ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2555
  34. นางสาวทรงสรรค์  นิลกำแหง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาและวรรณกรรม ราชบัณฑิตยสถาน เป็นที่ปรึกษาตรวจแก้ต้นฉบับและบรรณาธิการเรียบเรียงจดหมายเหตุ พระราชพิธี และเหตุการณ์สำคัญของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ผู้วางระบบงานจดหมายเหตุใช้เป็นแบบแผนในงานจดหมายเหตุแห่งชาติ นำระบบการจัดโครงสร้างองค์กรแม่แบบเพื่อบุคลากรใช้ปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับเชิญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้เป็นผู้เรียบเรียง ตรวจแก้ หนังสือสำคัญของชาติมาโดยตลอด
  35. นายผจญ  กัดฟัก ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร พัฒนารูปแบบการบริหารสำนักงานให้ทันยุคสมัย พัฒนาข้าราชการในสังกัดให้มีความเจริญก้าวหน้ามีวิทยฐานะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในองค์กรการศึกษา เมื่อดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้รับรางวัลพัฒนาสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดีเด่น 3 สมัย รางวัลหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอดีเด่น 2 สมัย และ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2554
  36. ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้พัฒนานวัตกรรมรูปแบบ CAI เป็นต้นแบบใช้ร่วมกัน 80 เขตพื้นที่ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศสำนักงานประถมศึกษาอำเภอดีเด่น ของ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย รางวัลดีเด่นในการบริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดีเด่นในวันประถมศึกษาแห่งชาติ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
  37. รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง จันดา ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยราชภัฏและหน่วยงานต่างๆ ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 เป็นต้น ให้บริการสังคมและเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นที่ประจักษ์ มีเกียรติประวัติและผลงานมากมาย และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2537
  38. ดร.อธิปัตย์ คลี่สุนทร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร มีเกียรติประวัติและผลงานเป็นที่ประจักษ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันอุทิศตนเพื่อสังคมโดยเป็นอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรรมการราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
  39. นายประจินต์ เมฆสุธีพิทักษ์ ผู้มีความสามารถด้านการบริหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นที่ยอมรับ ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ครุฑทองคำ ในปี 2554 รางวัลบุคลากรสายสนับสนุนดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร อุทิศตนแก่สังคมโดย เป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ในการจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
  40. นางสาวสุภา หรรษนันท์ ประธานกรรมการบริหารโรงแรมหรรษนันท์ นักบริหารผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ยอมรับ ปัจจุบันธุรกิจจัดสรรที่ดิน รับเหมาก่อสร้างบ้าน “หมู่บ้านหรรษนันท์” อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่า วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม 2 วาระติดต่อกัน ในปี พ.ศ.2529-2530 ผู้อุทิศตนแก่สังคม โดย เป็นสมาชิกชมรมผู้เสียสละจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของ วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ในปี 2530
  41. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เทอดศักดิ์ จันทร์อรุณ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่ ปี 2550 ถึงปัจจุบัน 5 วาระติดต่อกัน อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นสมาชิกชมรมผู้เสียสละจังหวัดพิษณุโลก เป็นเวลากว่า 20 ปี พัฒนางานสมาคมศิษย์เก่าอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของกรรมการ ผู้บริหาร ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป ริเริ่มโครงการสำคัญ หลายโครงการ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิษย์เก่าดีเด่น วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ในปี 2534
  42. ดร.ประพฤทธิ์ เธียรสิทธิพร ผู้บริหารบริษัทในเครือ แก้วเพชรพลอย กรุ๊ป จังหวัดสุโขทัย บริหารธุรกิจประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ปฏิบัติงานร่วมกับสังคมและชุมชนโดยตลอด ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ คณะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปัจจุบัน
  43. ดร.สมชัย ชัยชนะวงศ์ นักการตลาดผู้มากความสามารถ จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงผลกระทบระดับใกล้และไกลด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ และบริหารงานด้วยความเสียสละเพื่อชุมชนส่วนรวม เช่น สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับจำนวนมาก เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2544 และ ได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2554
  44. นายยุทธ์ ไกรโชค ศิษย์เก่าสาขาบริหารโรงเรียน ผู้รักการทำหน้าที่สื่อมวลชน เป็นผู้สื่อข่าวไทยรัฐ ประจำจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน มีผลงานอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้าเป็นลำดับ ได้รับรางวัลผู้สื่อข่าวยอดเยี่ยมและผู้สื่อข่าวปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นของ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 4 ปี ติดต่อกัน และรางวัล “ภาพข่าวยอดเยี่ยม” ของ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในปี 2552 ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งประธานชมรมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก ในปี 2559
  45. นางพันธุ์ทิพา ขวัญทองอินทร์ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด มากกว่า 13 ปี ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ผู้นำความรู้ทางด้านการตลาดมาบูรณาการและพัฒนากิจการธุรกิจจนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 3 ปีมีรายได้ถึง 50 ล้านบาท พัฒนาตนเองตลอดเวลา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านการตลาดในยุคใหม่ ในสถานศึกษาต่างๆ ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมทางด้านอีเว้นท์ท้องถิ่น จากนิตยสารอีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้ง ในปี 2014
  46. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา พรหมมา ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ ที่ปรึกษาศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้ประเมินในโครงการสำคัญ ได้แก่ ผู้ภายนอกระดับอุดมศึกษา ผู้ประเมินภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นต้น มีผลงานวิจัย ตำราเกี่ยวกับการวิจัย การประกันคุณภาพ การวัดผลและประเมินผล ได้รับประกาศเกียรติคุณด้านการวิจัยมากมาย เป็นที่ยอมรับ
  47. นายวิม เกาเทียน วิทยากรและพิธีกรผู้อุทิศตนเพื่อให้บริการสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบศาสนพิธี ได้รับการยอมรับทั้งภายในจังหวัดพิษณุโลกและทั่วทุกภูมิภาค เช่น งานพระราชทานเพลิงศพ งานทำบุญบ้าน ทำบุญสำนักงาน งานมงคลสมรส นอกจากนี้ยังสร้างกุศลด้วยการทำบุญอุทิศให้กับผู้ถึงแก่กรรม ภายหลังจากครบ 100 วัน และถ่ายทอดความรู้โดยจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดงานศาสนพิธี และสมุดหมายเหตุพิษณุโลก มอบให้ผู้สนใจได้ศึกษา
  48. รองศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร น้อยน้ำใส รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลงานวิจัย ผลงานแต่งและเรียบเรียงหนังสือ ตำรา มากมาย ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ได้แก่ นายกสมาคมนักวิจัยสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ประธานกรรมการสหกรณ์เคหะนิเวศวิถีพอเพียงนครราชสีมา จำกัด กรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ได้รับการยอมรับด้านการจัดการความขัดแย้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดนครราชสีมาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  49. รองศาสตราจารย์ ดร.วารีรัตน์ แก้วอุไร อาจารย์ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและบริการวิชาการ มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ผลงานตำรา บทความ สิทธิบัตร เป็นที่ยอมรับ บริการสังคมด้วยการเป็นคณะกรรมการให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการข้าราชการครู และกระทรวงมหาดไทย ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาทุนวิจัยให้กับ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นต้น
  50. นายเชาวรัตน์ คล้ายสอน ประธานชุมชนบรมไตรโลกนารถ 21 แกนนำรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง ได้รับการยอมรับในด้านการพัฒนาชุมชน โดย ริเริ่มโครงการธนาคารของชุมชนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ผลงานรางวัล อาทิ โล่รางวัลชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดพิษณุโลก โล่รางวัลชุมชนปลอดขยะ ZERO WASTE วันสิ่งแวดล้อมโลก จาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
  51. ศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มีผลงานด้านวิจัยมากมายในระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ ได้แก่ เป็นกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สมาชิกสมาคมวิจัยเชิงคุณภาพแห่งประเทศไทย ประเภทสมาชิกถาวร สมาชิกนักวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สมาชิกของ American Evaluation Association สมาชิกของ American Educational Research Association และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2555
  52. นายสาคร บำรุงศรี ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดนาขาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ผู้ทำงานเพื่อสังคม โดยจัดตั้งกลุ่มสนใจเพื่อฝึกหัดวาดภาพในชุมชน ใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่สอนนอกเวลาเรียน จัดทำโครงการเพื่อสังคมโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อ ได้แก่ โครงการเสริมศิลป์ยุวทูตความดีกับอาเซี่ยนและกระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่งานศิลปะ เพื่อจัดหาทุนการศึกษาช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา และเผยแพร่ผลงานศิลปะต่อต้านอบายมุขในสถานศึกษาหลายแห่ง เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2554
  53. นางสิริพร หร่ายวงศ์ หัวหน้าศูนย์ข่าวภูมิภาค ททบ.5 ผู้เชี่ยวชาญการข่าว ผู้ประสบความสำเร็จด้านนิเทศศาสตร์ตามสายวิชาชีพที่เรียน ใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าและพัฒนางานในหน้าที่โดยเข้ารับการอบรมการเขียนข่าว ผลิตข่าวจากสำนักงานข่าวต่างประเทศ และฝึกทำข่าวเพื่อก้าวให้ทันยุคสมัย ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรให้เดินทางไปทำข่าวและสกูปข่าวการผลิตแพทย์เพื่อชนบท ร่วมกับ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2554
  54. นายมังกร จีนด้วง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์ ศิษย์เก่าสาขานิเทศศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนข่าว ได้รับรางวัลผู้สื่อข่าวดีเด่น หนังสือพิมพ์มติชน จากการเสนอข่าว “มาเฟียพิษณุโลก” ติดต่อกัน 14 ฉบับ นำเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและต่อสู้เพื่อสังคม บริหารสถานีวิทยุได้รับรางวัล สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคดีเด่น ระดับเขต อุทิศตนแก่สังคม โดยเป็นนายกสมาคม ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ นายกสมาคมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก
  55. นางพรปวีณ์ ทองด้วง ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และเป็นนักเขียน มีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารคู่สร้างคู่สม และพ็อกเก็ตบุ้ค 2 เล่ม ได้แก่ “ร้อยเรื่องราวคุณค่าอารยธรรม” และ “เล่าอารยธรรม” ปัจจุบันเป็นนักประชาสัมพันธ์ สถานอารยธรรมโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ทำหน้าที่เผยแพร่ข่าวของหน่วยงานและชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเขียนบล็อกเล่าอารยธรรมทางโอเคเนชั่น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวอันมีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิต เช่น “ความภาคภูมิใจในศิษย์เก่าราชภัฏ ด้วยคุณค่าและศักดิ์ศรีที่ไม่เป็นรองใคร”
  56. นางดารณี เสฎฐสุวจะ อดีตรองผู้อำนวยการโรงเรียน ชำนาญการ โรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์) ผู้ให้การศึกษาแก่เยาวชนในฐานะ “วิศวกรสังคม” และได้รับการยอมรับทางด้านการสืบสานวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ประธานเครือข่ายวัฒนธรรมเทศบาลนครพิษณุโลก ครูอาวุโสของคุรุสภา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติทางด้านวัฒนธรรม ได้แก่ ผู้แต่งกายงดงามตามวิถีไทย จังหวัดพิษณุโลก โล่เกียรติยศผู้นำการแต่งกายผ้าไทยผ้าถิ่น จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
  57. นายสันติ อภัยราช ครูผู้เชี่ยวชาญและมีผลงานด้านวัฒนธรรม ในระดับภูมิภาคในภาคเหนือเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม อาทิ ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการยกย่องจากสภาวัฒนธรรมภาคเหนือให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมภาคเหนือ อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรม จนได้รับการยกย่องเป็นคนดีเมืองกำแพงเพชร สาขาวัฒนธรรม เป็นบุคคลดีเด่น และเป็นครูต้นแบบแห่งชาติ เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  58. ดร.ประทีป สุขโสภา ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการขับทำนองพื้นบ้านผู้ฟื้นฟูเครื่องดนตรีประเภทกรับ ที่สูญหายไปประมาณ 40 ปี นำมาประกอบการขับทำนอง เผยแพร่ไปทั่วประเทศ ผลงานสร้างชื่อเสียง อาทิ การผลิตเอกสารอ่านประกอบวิชาศิลปะกับชีวิต ประพันธ์บทร้อยกรองและทำนองเพลงพื้นบ้าน มากกว่า 4,000 ครั้ง เป็นนักแสดงเพลงพื้นบ้าน “เพลงขอทาน” ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีรางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับจำนวนมาก โดยในปี 2559 ได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ประเภทผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จากกระทรวงวัฒนธรรม
  59. นางนิภารัตน์ กาญจนโชติ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้อุทิศตนด้านวัฒนธรรม เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในงานสำคัญทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศ สร้างชื่อเสียงด้านนาฏศิลป์ให้กับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดียิ่ง ได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน จังหวัดพิษณุโลก มีผลงานรางวัลจากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
  60. นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร มีความรู้ความสามารถ ด้านการศึกษาเอกสารโบราณ ตระหนักถึงการอนุรักษ์เอกสารโบราณของไทย และถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นหลัง โดยรับเชิญเป็นวิทยากรเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอักษรไทยโบราณ ให้กับสถาบันและหน่วยงานต่างๆ เป็นบรรณาธิการหนังสือของกรมศิลปากร และหนังสือสำคัญ เช่น หนังสือที่ระลึก 100 ปี สถาปนากรมศิลปากร ตำราเวชศาสตร์ฉบับข้าหลวงรัชกาลที่ 5 เล่ม 3 สยามมกุฏพิสุทธิ์ศิลป์ ศาลาไทยในต่างประเทศ
  61. นางภาณุมาศ ภูมิถาวร นักเขียนผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ จากการลองเขียนเรื่องสั้นตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ในปี 2532 จึงเกิดผลงานเขียนเรื่องสั้นเล่มแรก ชุด “สงกรานต์ที่บ้านเกิด” ในปี 2534 ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชมเชย จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย จึงมีผลงานนวนิยายและเรื่องสั้นอย่างต่อเนื่อง งานเขียนที่ได้รับรางวัล ได้แก่ นวนิยายเยาวชน เรื่อง “ภาพอาถรรพณ์” ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทชมเชย ในปี 2546, หนังสือสารคดี เรื่อง “นักเรียนไทยในเมืองเวียด” ได้รับรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 9 ประเภทชมเชย จาก สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ในปี 2555
  62. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ พลนิกรกิจ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ มีผลงานหนังสือ และบทความวิจัยจำนวนมาก ผลงานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาวิทยุชายแดน เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระดับมหภาค จนได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และได้รับคัดเลือกให้เสนอบทความวิจัยในระดับนานาชาติหลายปีต่อเนื่อง อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นวิทยากรที่ไม่แสวงหากำไรให้แก่หน่วยงานต่างๆ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
  63. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัญญา เครือหงษ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับ ได้รับทุนการศึกษาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศออสเตรเลีย มีผลงานวิจัย ผลงานรางวัลประกวดนวัตกรรม และเป็นที่ปรึกษาโครงการประกวดต่างๆ มากมาย ได้รับรางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาดีเด่นที่สร้างชื่อให้กับมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปี 2554 และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปี 2558
  64. นางสาวพัชรี แซ่เล้า ครูโรงเรียนวัดวิจิตรรังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทผู้มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษาเป็นที่ยอมรับ พัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ถ่ายทอดความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ในฐานะอาจารย์พิเศษให้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้รับการยกเชิดชูเกียรติการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่น ของโรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศจังหวัดลพบุรี ในปี 2552 ประกาศเกียรติคุณ ใต้ร่มบารมี หนึ่งความดีแทนคุณแผ่นดิน จาก หนังสือพิมพ์สื่อธุรกิจ ประจำปี 2557 และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปี 2558
  65. นายประเทือง โมราราย ครูช่างเทคนิค ชำนาญงานพิเศษ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมศาสตร์ มีผลงานโครงการวิจัยและเป็นคณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลงานด้านวิศวกรรม ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อุทิศตนแก่สังคมโดยนำโครงการวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน จนได้รับการยกย่องเป็นบุคลากรดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2556 ประกาศเกียรติคุณรางวัลทำงานดี ขยันและอดทน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2557 และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
  66. นางลักคณา บุญดี บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิษณุโลก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองพิษณุโลก สำนักงาน กศน. จังหวัดพิษณุโลก ผู้มีความรู้ความสามารถด้านบรรณารักษศาสตร์ เป็นวิทยากรแกนนำโครงการหนังสือเล่มแรก อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับบรรณารักษ์ 9 อำเภอ ของ สำนักงาน กศน. จังหวัดพิษณุโลก และชุมชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
  67. นายเพ็ง สอนสกุล ครูโรงเรียนบ้านหนองแม่แตง(ธรรมศาสตร์อาสา) อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชรผู้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ มุ่งมั่นในการสอนให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ อ่าน พูด เขียนภาษาอังกฤษ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นผู้สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียน อุทิศตนในการสอนนักเรียนด้อยโอกาสทางการศึกษาพื้นที่ยากจน ให้สามารถประสบความสำเร็จในการเรียนเท่าเทียมกับเด็กที่มีฐานะดีทั่วไป ตลอดจนพัฒนาวิชาชีพของตนเองให้เจริญก้าวตามลำดับ มีผลงานเกียรติประวัติมากมาย เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ในปี 2555
  68. นางสาวรุ่งทิวา อันตรเสน ผู้จัดการฟาร์มเส้นทางเห็ด เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ ผลิตเห็ด 14 สายพันธุ์ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติการทางเกษตรที่ดีสำหรับพืช จาก กรมวิชาการเกษตร มุ่งมั่นพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ เพียงพอต่อการบริโภคและยังสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน อุทิศตนแก่สังคมท้องถิ่น โดยบริการวิชาการแก่ผู้สนใจเพราะเลี้ยงเห็ดโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นวิทยากรให้สถาบันต่างๆ
  69. นายธีระศักดิ์ สรวมชีพมาเสือ เจ้าของกิจการ Thomas Koch Travel & Adventure, Lagoon Thai Massage ผู้บุกเบิกธุรกิจท่องเที่ยว ณ เกาะช้าง จังหวัดตราด มีความรู้ความสามารถด้านการประกอบธุรกิจ และเป็นมัคคุเทศก์อิสระ มุ่งมั่นพัฒนาวิชาชีพจนกระทั่งประสบความสำเร็จในฐานะ เจ้าของกิจการ นอกจากนี้ยังอุทิศตนเป็นแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ เกาะช้างให้คงความสมบูรณ์ของธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
  70. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป ผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สร้างสรรค์ผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรมด้านอาหาร อุทิศตนช่วยเหลือให้คำปรึกษาชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่ขาดโอกาส มีผลงานมากมาย เช่น รางวัลผลงานในวันนวัตกรรมแห่งชาติ จากมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2552 รางวัลรองชนะเลิศอันดันที่ 2 ด้านการออกแบบอาหาร ในปี 2555 จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
  71. นายกษิภัท เจี๊ยะทา เลขานุการอธิบดีกรมอนามัย นักวิชาการเผยแพร่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้อุทิศตนให้บริการสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ได้แก่ การทำกิจกรรมจิตอาสาให้กับผู้ติดเชื้อ HIV และ กิจกรรมดนตรีบำบัด ให้กับโรงพยาบาลพุทธชินราช เป็นวิทยากรเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เรื่องเพศ และโรคต่างๆ ให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ เป็นนักแสดงและพิธีกรในงานสำคัญ ทั้งหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข สถานศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ เป็นที่ยอมรับ เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2558
  72. ดร.โอภาส เพี้ยนสูงเนิน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยชินวัตร นักศึกษาทุนการศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารและส่งต่อธุรกิจครอบครัว กลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด มีประสบการณ์การบรรยายทางวิชาการและสัมมนาในประเทศและต่างประเทศมากมาย เป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติมากกว่า 20 เรื่อง
  73. นายธเนส อนุดิษฐ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่น และ ผู้สื่อข่าวช่อง 3 ประจำจังหวัดพิษณุโลก ผู้ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ประกอบอาชีพสื่อมวลชนกว่า 15 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านการทำข่าวทุกประเภท เช่น อาชญากรรม การเมือง ท่องเที่ยว กีฬา สังคม ฯลฯ เป็นที่ยอมรับ อุทิศตนแก่สังคมโดยการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก และเป็นสื่อกลางในการเสนอข่าว ผู้ด้อยโอกาส ผู้มีฐานะยากจน ให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือ
  74. นายเจษฎ์ อู่ไทย อดีตรองผู้จัดการองค์การทอผ้า กระทรวงกลาโหม ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับด้านจิตอาสา ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการช่วยงานส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง อาทิ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอ, รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก, รองประธานกรรมการสงเคราะห์สถานพินิจเด็กและเยาวชนพิษณุโลก, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ลูกเสือจังหวัดพิษณุโลก, ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยศาลจังหวัดพิษณุโลก เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
  75. นางประนอม ทิวะพันธุ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้มีปณิธานในการให้บริการสังคม เช่น โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ปัจจุบันอุทิศตนแก่สังคมโดยใช้ความรู้ความสามารถในตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ทำคุณประโยชน์มากมาย เป็นที่ยอมรับในการช่วยเหลือสังคม อาทิ เป็นกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนภาคเหนือ
  76. นายสุธีร์ เรืองโรจน์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตรายการ สารคดีโทรทัศน์มากกว่า 10 ปี ผลิตรายการสะท้อนปัญหาทุกด้านของสังคมประเทศ ได้แก่ “รายการหลุมดำ” เสนอปัญหาแรงงาน ส่วย เอดส์ เพศสภาพ เด็ก “รายการจุดเปลี่ยน” สะท้อนปัญหาสังคม ทางช่อง 9 “รายการปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง” เสนอการพัฒนาเมืองจากปัญหาเมืองใหญ่ในแต่ด้าน “รายการเรียลลิตี้เด็กวัด” เสนอหลักธรรมผ่านภารกิจของเด็กวัดวัยรุ่น 4 คน และผลิตสารคดีที่เป็นทั้งความรู้ สะท้อนปัญหา และสร้างแนวคิดมุมมองให้กับสังคมไม่น้อยกว่า 200 เรื่อง
  77. นายพิพัฒน์ สัสดีแพง หัวหน้าฝ่ายรายการ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารมวลชน ผลิตรายการทีวีเผยแพร่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและทั่วประเทศไทย ลงพื้นที่ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อผลิตสารคดี เผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างครอบคลุมทั่วถึง ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกรมประชาสัมพันธ์และประเทศชาติ ได้แก่ เป็นตัวไทยประเทศไทยร่วมผลิตสารคดี ณ ประเทศอเมริกา เวียดนาม ลาว, ถ่ายทอดการเสด็จประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ให้บริการสังคมด้วยการเป็นวิทยากรพิเศษด้านสื่อสารมวลชน
  78. พันตำรวจโทหญิงเรณุกา หมอนแพร นักวิทยาศาสตร์ (สัญญาบัตร 3) ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6 พิษณุโลกผู้ชำนาญการพิเศษการตรวจพิสูจน์ สาขาตรวจสถานที่เกิดเหตุและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด รับผิดชอบการตรวจสถานที่เกิดเหตุ การตรวจเก็บวัตถุพยานในคดีต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีของศาล มีความวิริยะอุตสาหะในด้านการประกอบอาชีพเป็นที่ยอมรับ
  79. นายร้อยแก้ว สายยิ้ม ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษาไทย ให้ความสนใจด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านพุทธศาสนา มีผลงานบทกลอน หนังสือประวัติความเป็นมาของพระสงฆ์ บุคคล และสถานที่สำคัญในอดีตที่มีความเกี่ยวข้องกับจังหวัดพิษณุโลก ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดย หนังสือมณีวิสุทธิ์พระพุทธชินราช ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อุทิศตนเพื่อสังคมโดยเป็นพิธีการกุศล บรรยายธรรมะให้กับสถานศึกษา องค์กรและชุมชนโดยไม่รับค่าตอบแทน เป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2556
  80. นายพิริยะ ตระกูลสว่าง ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจ่าการบุญ ผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลายและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลในระดับต่างๆ เช่น เข็มเชิดชูเกียรติ “หนึ่งแสนครูดี” จาก คุรุสภา โล่ประกาศเกียรติคุณ “ต้นแบบคนดี ใต้ร่มพระบารมี แม่ของแผ่นดิน” จาก สมาคมสโมสรวัฒนธรรมหญิง ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ฯลฯ ให้บริการสังคมโดยเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ให้กับหน่วยงานต่างๆ เป็นแบบอย่างของศิษย์ที่ภาคภูมิใจในความเป็นคน “ราชภัฏ” ให้กับรุ่นน้อง
  81. นายนิยม ช่างพินิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นผู้มีจิตสาธารณะช่วยเหลือสังคมจนได้รับเลือกเป็นสมาชิสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก 3 สมัย และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก 2 สมัย อุทิศตนแก่สังคมโดยเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการเมืองการปกครองและธุรกิจแก่สถาบันการศึกษาและองค์ต่างๆ ได้รับการยกย่องให้เป็นคนดีศรีอาชีวะ ในปี 2548 รางวัลคนดีศรีสองแคว ในปี 2550 และ ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2553
  82. พลเอกนิวัติชัย ถนอมธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณลักษณะที่หล่อหลอมเป็นนายทหารที่เข้มแข็ง มีวินัย มีความรับผิดชอบ สามารถในกิจการงานจนประสบความสำเร็จในหน้าที่ราชการ อุทิศตนร่วมเป็นคณะทำงานของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง ประกอบคุณความดีจนได้รับโล่รางวัลในฐานะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประธานชมรมศิษย์บัณฑิตคนแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2553
  83. นายภาณุพันธ์ พิลึก สถิติจังหวัดน่าน ผู้เชี่ยวชาญงานสถิติด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี มีความรู้ความสามารถในงานที่ปฏิบัติ คือ การผลิตข้อมูลในพื้นที่ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน ใช้ในการวางแผนเพื่อการประเมินผลและตัดสินใจในระดับจังหวัดและประเทศ เป็นผู้มีใจรักงาน รับผิดชอบต่อหน้าที่ หมั่นเรียนรู้เพิ่มเติม และมุ่งมั่นในกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อย จึงเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพราชการเป็นที่ยอมรับ ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2558
  84. นายนรินทร์ วัฒนกุลชัย นายกเทศมนตรีเมืองอรัญญิก นักบริหารองค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อชุมชน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย ประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ได้รับรางวัลศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ยอดเยี่ยมระดับจังหวัด ในปี 2553 รางวัลท้องถิ่นดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับจังหวัด ในปี 2556 และ ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ในปี 2557
  85. ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ ศูนย์กลางขยะเพื่อการส่งออกพันล้าน ได้รับการขนานนามว่า “ราชารีไซเคิล” พัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดด้วยระบบเฟรนไชส์กว่า 486 สาขาทั่วประเทศ ให้บริการสังคมควบคู่กับการทำธุรกิจ โดยเปิดเป็นแหล่งดูงานด้านการจัดการขยะแบบครบวงจร อบรมเรียนรู้การรีไซเคิลเชิงธุรกิจ และเป็นโรงงานรีไซเคิลครบวงจรที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย 648 สาขาทั่ประเทศและต่างประเทศ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติรางวัลมากมาย และเป็นบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปี 2544
  86. สิบตรีกริช พลเดชวิสัย นายกสมาคมสื่อท้องถิ่นและเจ้าของรายการโทรทัศน์มองกลับด้าน นักธุรกิจผู้อุทิศตนรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถด้านการฝึกอบรม เป็นวิทยากรและผู้อำนวยการหลักสูตรการพูดในที่ชุมชน พัฒนาวงการสื่อและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสเป็นที่ยอมรับของสังคมและหน่วยงานต่างๆ ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลนักธุรกิจดีเด่น โดย นายกสมาคมนักธุรกิจพิษณุโลก บุคคลดีเด่นด้านบำเพ็ญประโยชน์ โดย นายกสโมสรโรตารีพิษณุโลก ฯลฯ
  87. นายเจนวิทย์ จันทรา นักธุรกิจผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ “กล้วยตาก” สินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิษณุโลกมายาวนาน โดยพัฒนาคุณภาพ กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย ปรับแผนการตลาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน อุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก สถาบันอาหารและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เน้นการผลิตที่ได้มาตรฐานฮาลาล การใช้ระบบจีเอ็มพี และเอชเอซีซีพี เพื่อเป็นแนวทางประกันคุณภาพสินค้า และยกระดับมาตรฐานการผลิต เป็นที่ยอมรับ ในตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงชาติตะวันออกกลาง
  88. นายณฐกร โซ่จินดามณี นักธุรกิจเจ้าของกิจการ บริษัท ที.เอส. พรินท์ติ้ง 2002 จำกัด ผู้ประสบความสำเร็จด้านบริหารธุรกิจ ได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และเลขาธิการสภาอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 อุทิศตนเพื่อสังคมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลกให้มีความก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี
  89. นายจักรพันธ์ หาญภิรมย์ ศิษย์เก่าสาขาดนตรีสากล ผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านดนตรีและการร้องเพลง เริ่มต้นเส้นทางนักร้องอาชีพด้วยการเข้าประกวดรายการ “ไมค์ทองคำ 2” ช่องเวิร์คพ้อย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 และเป็นศิลปินสังกัดค่ายยุ้งข้าวเรคคอร์ด ในเวลาต่อมา ผลงานเพลงได้รับความนิยมอย่างสูง ได้แก่ เพลงจุดอับสัญญาณ เพลงสถานีความระกำ และเพลงกอดเหงา และเป็นผู้แต่งเพลงอ้อมกอดพิบูล และเพลงผืนดินปริญญา ให้กับมหาวิทยาลัย
  90. สิบเอกหญิงคนิษฐา ทองยอด นักกีฬายิงปืนหญิงแห่งกองทัพไทย ผู้คว้าเหรียญทองระดับอาเซียน สร้างชื่อเสียงให้กับชาติบ้านเมือง ผู้มีความชำนาญทางด้านทักษะการใช้อาวุธ ประเภทปืนพก สามารถผ่านการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬายิงปืนหญิงตัวแทนกองทัพบก เข้าร่วมการแข่งขันยิงปืนทางยุทธวิธีกลุ่มประเทศอาเซียน คว้าเหรียญรางวัลในต่างประเทศมากมาย ได้แก่ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ฯลฯ

download : ประกาศมหาวิทยาลัย

รายละเอียดเพิ่มเติม
หน่วยศิษย์เก่าสัมพันธ์ งานบริการนักศึกษาและศิษย์เก่า กองพัฒนานักศึกษา 055-267000-2 ต่อ 9606 website : http://sas.psru.ac.th  Facebook : sas.psru Line : @sitpubul